Office syndrome ถ้าเธอปวด…ฉันก็ปวด
โรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศวัยทำงาน
ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมถึงอาการปวดหรือชาจากอาการอักเสบจากเนื้อเยื่อและเอ็นสามารถเกิดขึ้นได้ กับคนที่นั่งทำงานอยู่กับโต๊ะหรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนที่ทำงานออฟฟิศ แต่รวมถึงคนที่ทำงาน work from home นักเรียนที่เรียนออนไลน์ คนที่ใช้มือถือบ่อยๆเป็นระยะเวลานาน
สาเหตุมาจากหลายปัจจัย มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ค่อยได้เปลี่ยนท่าทางรวมถึงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม การนั่งไขว่ห้าง หรือการก้มหน้านาน ๆ เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานซ้ำ ๆ มีการหดเกร็งจนกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ เกิดการบาดเจ็บซ้ำๆ หรืออาจขมวดเป็นก้อนตึง และเกิดอาการปวดตามมาดึงรั้งกันไปมา ตอนแรกอาการปวดตึงอาจจะเริ่มจากจุดหนึ่ง สะสมนานเข้าร้าวไปปวดอีกจุดหนึ่ง เพราะถูกดึงรั้งจากกล้ามเนื้อส่วนที่หดเกร็ง รู้ตัวอีกทีก็จะปวดเป็นบริเวณกว้าง กลายเป็นชาวออฟฟิศซินโดรมโดยไม่รู้ตัว
อาการแบบไหนใช่ออฟฟิศซินโดรม
- กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome)
- เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (Carpal Tunnel Syndrome)
- ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (Nerve Tension)
- กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (Tennis Elbow)
- นิ้วล็อก (Trigger Finger)
- เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (Tendinitis)
- ปวดตา (Eyestrain)
- อาการปวดหัว (Tension headache)
อาการของโรคนอกจากสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายแล้ว ยังลดประสิทธิภาพการทำงานและบางคนมีอาการเรื้อรังส่งผลต่อการใช้ชีวิตอีกด้วย
หยุดวงจรออฟฟิศซินโดรม:ทางเลือกเพื่อชีวิตการทำงานที่มีสุขภาพดี
การฝังเข็ม (Acupuncture) เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยการฝังเข็มจะรักษาที่ต้นเหตุอาการยอดฮิตของออฟฟิศซินโดรม คืออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก ส่วนหลัง และสะโพก เมื่อฝังเข็มลงไปยังกล้ามเนื้อที่ปวดตึง จะเกิดการควายภาวะหดเกร็งกล้ามเนื้อเฉพาะจุด ที่เรียกว่า trigger point ซึ่งเป็นสาเหตุการปวดของโรคกล้ามเนื้อเรื้อรัง (myofascial pain syndrome) จากการศึกษาพบว่าจุดฝังเข็มสัมพันธ์กับ trigger point ถึงร้อยละ 80 และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อและระงับความเจ็บปวดได้ดี ควบคู่กับประเมินสภาพพื้นฐานร่างกายของคนไข้เฉพาะบุคคล เพื่อหาสาเหตุความไม่สมดุลของร่างกายก่อนจะทำการรักษาและ ปรับสภาพความสมดุลการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสมดุลและออฟฟิศซินโดรมมักมาพร้อมกับความเครียด วิตกกังวล และความเหนื่อยล้าทางจิตใจ การฝังเข็มช่วยผ่อนคลายและลดความเครียดโดยควบคุมระบบประสาทซิมพาเทติก ช่วยปรับความสมดุลตามธรรมชาติของร่างกาย
ควบคู่กับการครอบแก้ว (Cupping) ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้น มักใช้ร่วมกับการฝังเข็มเพื่อแนวทางการรักษาที่ครอบคลุมมากขึ้น
เคล็ดลับในการป้องกันและจัดการโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยตนเอง
ปรับพื้นที่ทำงานให้เหมาะสม :
- เก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระเพื่อรักษาส่วนโค้งตามธรรมชาติของหลังส่วนล่าง
- วางหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับเดียวกับสายตาเพื่อเลี่ยงการเกร็งคอ
- ใช้แป้นพิมพ์และเม้าส์โดยให้แขนและข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่บ่าและแขนผ่อนคลาย
หยุดพักเป็นประจำ ขยับตัวให้บ่อยขึ้น:ตั้งเตือนให้ยืดเส้น เพียงม้วนไหล่ ยืดคอ ยืดหลัง เปลี่ยนอริยาบท ก็ช่วยให้เรากล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ปฏิบัติตามกฎ 20-20-20: ทุก ๆ 20 นาที พัก 20 วินาที แล้วมองสิ่งที่อยู่ห่างออกไป 20 ฟุตเพื่อลดอาการปวดตาและปวดศีรษะ
ออกกำลังกาย:เพิ่มความเเข็งแรงของกลัามเนื้อ เพราะสาเหตุอาการปวดของออฟฟิศซินดดรมคือกล้ามเนื้อไม่มีแรงในการพยุงกระดูก ทำให้ต้องออกแรงเยอะกดเกร็งจนเกิดอาการปวด ทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้เป็นปกติและลดอาการตึงและเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ
เพื่อหยุดวงจรออฟฟิศซินโดรมต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่วนจะหายขาดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งานร่างกาย ควบคู่กับการปฏิบัติตามคำแนะนำวิธีการทำงานที่เหมาะสม การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวันละนิด ลดอาการออฟฟิศซินโดรมเพื่อที่จะลาออกจากด้อมออฟฟิศซินโดรมถาวรกันนะคะ
บทความโดย
แพทย์จีนริญญภัสร์ จรัสวัชรารุจน์ (พจ.1814)
หมอจัส
สาขา รังสิต-คลองสี่
สำหรับผู้ที่สนใจฝังเข็มเพื่อรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ท่านสามารถเข้ามาปรึกษา และวางแผนการรักษาได้ที่ปิยชาติคลินิก ทั้ง 3 สาขาใกล้บ้านท่าน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Add Line : https://line.me/R/ti/p/%40piyachartclinic
#เก๊าต์ #gout #ออฟฟิศซินโดรม #ปวดตึงคอบ่าไหล่ #officesyndrome #ปวดหลังร้าวลงขา #Dryneeding #นอนไม่หลับ #ปวดหัว #ไมเกรน #ปวดหัวข้างเดียว #ปวดศรีษะ #headaches #migraine #ฝังเข็ม #acupunture #ปิยชาติคลินิก #รัตนาธิเบศร์ #บางบัวทอง #นนทบุรี #ฝังเข็มปทุมธานี #ฝังเข็มรังสิต #ฝังเข็มกรุงเทพ #ฝังเข็มนนทบุรี #ฝังเข็มไมเกรน #ฝังเข็มปวดหัวข้างเดียว #ครอบแก้ว #cupping #ฝังเข็มหน้าใส #ฝังเข็มลดน้ำหนัก #ฝังเข็มสิว #สิว #รองช้ำ #ปวดส้นเท้า #ปวดฝ่าเท้า #บาดเจ็บจากออกกำลังกาย
บทความที่เกี่ยวข้อง