ฝังเข็ม (Acupuncture)
การฝังเข็มคือการใช้เข็มที่มีขนาดเล็กพิเศษ 0.25 mm (เมื่อเทียบกับเข็มเจาะเลือดขนาดทั่วไปจะมีขนาด 0.8 mm) แทงลงไปยังจุดฝังเข็มที่วางตัวอยู่บนเส้นลมปราณตามร่างกาย ตามทฤษฎีการแพทย์แผนจีน หรือ แทงลงไปยังกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดเพื่อให้เกิดผลการรักษาในด้านของการกระตุ้นจุดฝังเข็มเพื่อให้ได้ผลการรักษาตามจุดที่มีสรรพคุณต่างกัน หรือ เพื่อให้ได้ผลในด้านการคลายกล้ามเนื้อในจุดที่กล้ามเนื้อตึงตัว จึงทำให้เกิดอาการปวด มีผลทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น หลังจากการกระตุ้น ได้คลายตัวลง
ในด้านของกลไกการรักษาด้วยการฝังเข็มเชื่อว่าการฝังเข็มไปยังจุดต่างๆของร่างกายสามารถส่งผลให้เกิดทั้งการบำรุงของอวัยวะที่ทำงานบกพร่องหรือมีการยับยั้งของอวัยวะที่ทำงานมากเกินไป โดยเมื่อได้รับการฝังเข็ม ระบบประสาทจะรับความรู้สึกและส่งสัญญาณไปที่สมอง สมองจึงแปลผลสัญญาณประสาท หลังจากนั้นจึงส่งกระแสประสาทสั่งการกลับลงมาที่อวัยวะได้รับการกระตุ้นจากจุดฝังเข็มนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น โรคกรดไหลย้อนที่เกิดจากการหลั่งกรดที่มากเกินผิดปกติ การฝังเข็มที่จุดจู๋ซานหลี่ (足三里 ) สามารถยับยั้งการหลั่ง กรดที่มากเกินไปให้กลับมาในปริมาณที่ปกติได้ ซึ่งให้ผลการรักษาได้ดีในทางคลินิก แต่เนื่องจากความรู้ทาง การแพทย์ในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายกลไกการทำงานทางสรีรวิทยาได้ ยังคงต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไปยไป
ในด้านของการฝังเข็มลดอาการปวดเป็นอีกการรักษาหนึ่งที่รักษาด้วยการฝังเข็มได้ผลดี เนื่องจากเมื่อฝังเข็ม ร่างกายจะตอบสนองโดยการหลั่งสารเคมีที่มีอยู่ในร่างกายที่เป็นสารลดความเจ็บปวดได้หลายชนิด เช่น สาร เอนดอร์ฟิน ป็นสารที่สามารถยับยั้งความเจ็บปวดได้ดีกว่ามอร์ฟีน อีกหนึ่งกลการคือการฝังเข็มในกลุ่ม
กล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือ มัดกล้ามเนื้ออักเสบ สามารถทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเจ็บปวดการอักเสบได้อย่างเห็นผลได้ชัด
กล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือ มัดกล้ามเนื้ออักเสบ สามารถทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเจ็บปวดการอักเสบได้อย่างเห็นผลได้ชัด
คำถามที่พบบ่อย
เกี่ยวกับการฝังเข็ม
1. ฝังเข็มเจ็บไหม
เข็มฝังเข็มเป็นเข็มที่มีขนาดเล็กและบางขณะฝังผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยที่ผิวเมื่อเข็มฝังลงไปยังความลึกที่เหมาะสมผู้ป่วยจะรู้สึก ตึงๆ หน่วงๆ ชาๆ หรือปวดเล็กน้อยความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกที่ปกติ แสดงว่าได้สรรพคุณการรักษาตามจุดนั้น แต่ก็เป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยสามารถทนได้ ในผู้ป่วยเด็กที่มารับการฝังเข็ม อายุน้อยที่สุดคือ 1 ปีก็รับการฝังเข็มได้
2. ใช้เวลาในการรักษานานเท่าไหร่
การฝังเข็ม 1 ครั้งใช้เวลา 20 นาที ความถี่ในการรักษาและจำนวนครั้งในการรักษาขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรง และโรคที่เป็น ซึ่งจะสามารถประเมินได้เมื่อเข้ามารับการตรวจ
3. ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง
ผลข้างเคียงจากการฝังเข็มมีน้อยมาก เพียงอาจะเกิดจุดช้ำ ห้อเลือดในบางจุดซึ่งจะหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์
4. เข็มที่ใช้มียาหรือไม่
เข็มที่ใช้ฝังเข็มเป็นเข็มเปล่า ปลอดเชื้อ ใช้ครั้งเดียว ไม่มียาเคลือบแต่อย่างใด เป็นการรักษาที่ใช้ร่างกายรักษาตนเอง เป็นวิธีการรักษาเเบบธรรมชาติอย่างแท้จริง
5. ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับการรักษา
ผู้ป่วยเข้ารับการฝังเข็มควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย ไม่รัดแน่นเกินไป อยู่ในสภาพไม่เมาสุรา ไม่อิ่ม หรือ ไม่หิว จนมากเกินไป
บทความที่เกี่ยวข้อง